‘Francisco Tarrega’ By Worakarn Saengsomboon

::::Francisco Tarrega (1825-1909)

(ถอดความเรียบเรียงโดย อ.วรกานต์ -อ.อาร์ท- แสงสมบูรณ์)::::

tumblr_inline_mgu4osBXIU1rxsh3t


บทความเกี่ยวกับชีวประวัติของ Francisco Tarrega (1825-1909) ใครยังไม่เคยอ่านลองอ่านกันนะครับ บทความนี้ขอขอบคุณ.อ.วรกานต์ -อ.อาร์ท- แสงสมบูรณ์ มา ณ ที่นี้อีกครั้ง ที่กรุณาให้เผยแพร่บทความที่แม้แต่ผมที่เคยเล่นบทเพลงแต่ก็ยังไม่เคยศึกษาประวัติอย่างจริงจังเลยสักครั้ง เชิญอ่านได้แล้วครับ ^^


Francisco Tarrega (1825-1909) ฟรานซิสโก้ ทาร์เรก้า เป็นนักกีตาร์และนักประพันธ์ชาวสเปนผู้มีส่วนสำคัญอย่างมากต่อวงการกีตาร์ในปัจจุบัน ผลงานการประพันธ์เพลงและเทคนิคในการบรรเลงกีตาร์ของเขายังคงได้รับความนิยมมาจนถึงปัจจุบัน ทาร์เรก้าเกิดเมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน ค.ศ.1825 ที่เมืองVillareal, Castellon ประเทศสเปน พ่อของเขามีอาชีพเป็นยามเฝ้าสำนักชีชื่อ Convent of San Pascual ผู้ซึ่งมีความสามารถในการเล่นกีตาร์Flamencoและดนตรีในรูปแบบอื่นๆ ส่วนแม่เป็นพนักงานส่งเอกสารของสำนักชี ในช่วงเวลาที่พ่อของเขาไปทำงาน ทาร์เรก้ามักจะนำกีตาร์ของพ่อมาฝึกฝนเล่นในบทเพลงที่เขาชื่นชอบ ในวัยเด็กทาร์เรก้าเป็นเด็กที่ค่อนข้างเงียบขรึมจนได้รับชื่อเล่นว่า Quiquet (silent) ทาร์เรก้ามีปัญหาด้านสายตาที่มองเห็นไม่ค่อยชัดเนื่องจากครั้งหนึ่งเขาได้ถูกพี่เลี้ยงจับโยนลงไปในคลองที่สกปรก จนเกือบจะจมน้ำตายแต่โชคดีที่ได้รับการช่วยเหลือจากเพื่อนบ้าน เมื่ออายุ 8 ทาร์เรก้าได้เริ่มศึกษาดนตรีกับนักดนตรีตาบอดในท้องถิ่นสองท่านคือ Eugeni Ruiz และ Manuel Gonzalez


ในปี 1862 เมื่อ Julian Arcasได้เดินทางมาเล่นคอนเสิร์ตที่เมือง Castellon และมีโอกาสได้ฟังการบรรเลงกีตาร์ของทาร์เรก้า เขาจึงได้ให้คำแนะนำต่อพ่อของทาร์เรก้าให้นำตัวทาร์เรก้ามาเรียนกีตาร์กับเขาที่เมือง Barcelona ซึ่งพ่อของทาร์เรก้าก็เห็นชอบด้วยแต่ได้รบเร้าให้ทาร์เรก้าเรียนกีตาร์และเปียโนควบคู่ไปด้วยกันเพราะขณะนั้นเปียโนได้รับความนิยมอย่างสูงทั่วยุโรปขณะที่กีตาร์นั้นนิยมเล่นเพื่อประกอบการร้องเพลงมากกว่า อย่างไรก็ตามการเรียนของเขาก็ต้องหยุดลงในเวลาอันสั้นเมื่อArcasต้องออกทัวร์แสดงดนตรีอีกครั้งเมื่อเขามีอายุ 10 ปี


ทาร์เรก้าเริ่มต้นอาชีพนักดนตรีของเขาโดยการแสดงตามร้านกาแฟและร้านอาหารต่างๆในกรุง Barcelona ก่อนที่จะได้เดินทางกลับสู่บ้านเกิดในเวลาต่อมาไม่นานนัก โดยที่พ่อของเขาได้พยายามสนับสนุนให้ทาร์เรก้าได้ศึกษาดนตรีอย่างจริงจัง

69065_452741574810761_2125317960_n


ปี 1874 ทาร์เรก้าได้เข้าเรียนวิชาการประสานเสียงและเปียโนที่Madrid Conservatory โดยเขาได้รับการสนับสนุนจากพ่อค้าผู้ร่ำรวยนาม Antonio Canesa ทาร์เรก้าศึกษาวิชาการประพันธ์กับ Emilio Arriettaผู้ซึ่งผลักดันให้เขาหันมามุ่งมั่นกับการประพันธ์และเล่นกีตาร์ รวมถึงแนะนำให้ละทิ้งการเล่นเปียโน ในช่วงปลายของปี 1870 ทาร์เรก้าได้ทำงานสอนกีตาร์และทำการแสดงกีตาร์คอนเสิร์ตของเขาตามพื้นที่ต่างๆในประเทศสเปน ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่เขาได้ทำการประพันธ์ผลงานกีตาร์เป็นชิ้นแรกและนำมาแสดงร่วมกับบทเพลงของนักประพันธ์เพลงอื่นๆอีกด้วย ลูกศิษย์ของทาร์เรก้าที่มีชื่อเสียงในเวลาต่อมาได้แก่ Emilio Pujol, Miguel Llobet, Daniel Forteaและ Alberto Obregon


ระหว่างช่วงฤดูหนาวของปี คศ..1880ภายหลังจากการเล่นคอนเสิร์ตในเมืองNovelda, Alicante ทาร์เรก้าได้รับคำเชิญจากบุคคลสำคัญของเมืองให้ไปชมการเล่นกีตาร์ของลูกสาวของเขาซึ่งกำลังศึกษากีตาร์นามว่า Maria Jose Rizoหลังจากที่ได้พบกันทั้งคู่ก็ได้ทำการหมั้นหมายกันในเวลาต่อมา


ในปี 1881 ทาร์เรก้าได้ทำการแสดงกีตาร์ที่โรงละครโอเปร่าในเมือง Lyon และ Paris ประเทศฝรั่งเศส เนื่องในงานครบรอบการเสียชีวิของ Pedro Celderon de la Barcaและยังได้ทำการแสดงที่กรุงLondonประเทศอังกฤษด้วย แต่เขาไม่ค่อยจะชื่นชอบในบรรยากาศของเมืองนัก มีเรื่องเล่าในการมาเยือนอังกฤษของทาร์เรก้าว่า หลังจากการแสดงคอนเสิร์ตได้มีผู้ชมบางคนสังเกตุเห็นว่าตัวของทาร์เรก้าดูไม่ค่อยมีความสุขนักจึงได้ถามทาร์เรก้าว่า ”เกิดอะไรขึ้นหรือครับ Maestro คุณคิดถึงบ้านหรือครอบครัวของคุณหรือ” นอกจากนี้พวกเขายังได้แนะนำให้ทาร์เรก้านำความรู้สึกเศร้าสร้อยนี้ไปใช้ในงานดนตรีของเขา ดังนั้นทาร์เรก้าจึงได้นำเอาความรู้สึกนี้มาใช้ในงานของเขาคือ Lagrima (Teardrop) หลังการแสดงที่อังกฤษเขาก็เดินทางกลับไปยังNovelda เพื่อทำการแต่งงานกับMaria Jose Rizoในช่วงคริสต์มาสของปี 1882 ทาร์เรก้าและภรรยาได้ย้ายที่อยู่ไปยังกรุงmadrid โดยเลี้ยงชีพด้วยการสอนกีตาร์และการทำการแสดงกีตาร์แต่หลังจากการเสียชีวิตของลูกสาวของพวกเขาที่ชื่อMaria Josefa de los Angeles Tarrega Rizo ครอบครับเขาจึงได้ย้ายไปยังเมืองBarcelona อย่างถาวรในปีค.ศ.1885 โดยเขาได้คบหากับนักดนตรีที่มีชื่อเสียงใน Barcelona เช่น Isaac Albeniz, Enrique Granados, Joaquin Turinaและ Pablo Casals.

bc_tarrega


เขากับภรรยามีลูกด้วยกัน3คนคือ Paquito (Francisco), Maria Rosatiaหรือที่รู้เรียกอีกชื่อว่าMarietaและ Concepcion ระหว่างการทัวร์คอนเสิร์ตที่Valencia ตัวของทาร์เรก้าได้มีโอกาสรู้จักกับแม่ม่ายผู้มั่งคั่งนามว่าConxa Martinez ที่ต่อมาได้เป็นผู้อุปถัมภ์ที่สำคัญของทาร์เรก้าและครอบครัวของเขา โดยเขาได้ที่พักอาศัยในเมืองBarcelona จากเธอ ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ทาร์เรก้าผลิตผลงานที่เป็นที่นิยมจนถึงปัจจุบันหลายชิ้นด้วยกัน ในเดือนมกราคมปีค.ศ. 1906เขาได้รับความทุกข์ทรมานจากการเป็นอัมพาตของร่างกายด้านขวา ทาร์เรก้าไม่สามารถรักษาโรคที่เขาเป็นอยู่ได้ อย่างไรก็ตามเขาก็ไม่ได้หยุดการแสดงกีตาร์ของเขาลงแต่อย่างใด ผลงานชิ้นสุดท้ายที่ทาร์เรก้าประพันธ์คือ Oremus ซึ่งเสร็จในวันที่ 2 ธันวาคม ค.ศ.1909 เขาเสียชีวิตในเวลาไม่นานจากนั้นคือวันที่ 15 ธันวาคม ค.ศ. 1909 เมื่อเขาอายุได้ 57 ปี


ทาร์เรก้านั้นมีแนวคิดแบบอนุรักษ์นิยมในด้านการประพันธ์เพลงโดยรูปแบบของงานจะมีลักษณะแบบยุคปลายของศตวรรษที่18 ซึ่งเดินตามแนวทางของ Sor และ Aguado เขามีผลงานการประพันธ์ที่เป็น Original 78 ชิ้นและ Transcription 120ชิ้น


+++เกร็ดความรู้เกี่ยวกับ Francisco Tarrega
– ทาร์เรก้าเป็นผู้นำเอาวิธีการเล่นกีตาร์โดยวางกีตาร์ไว้บนขาข้างซ้ายและใช้ที่วางเท้า (foot stool) มาใช้จนเป็นที่นิยมจนถึงปัจจุบัน
– Emilio Pujolได้กล่าวว่าทาร์เรก้าเป็นผู้คินค้นเทคนิคการดีดพักสายขึ้น โดยให้ความเห็นว่าไม่เคยมีการกล่าวถึงเทคนิคนี้ในตำราของ Sor, Aguado หรือนักกีตาร์คนอื่นๆในยุคนั้นเลย แต่ก็มีข้อโต้แย้งอยู่มากเช่น Andres Segovia นั้นเชื่อว่าเทคนิคการดีดพักสายนั้นน่าจะมาจากเทคนิคการเล่นของนักกีตาร์ Flamenco มากกว่า แต่ก็มีความเป็นไปได้ว่าทาร์เรก้านั้นเป็นผู้เรียกวิธีการดีดแบบพักสายนี้ว่า Apoyando
– Domingo Pratเพื่อนของทาร์เรก้าให้ข้อมูลว่าในวัยหนุ่มของทาร์เรก้านั้นใช้เล็บในการเล่นกีตาร์ด้วยแต่ทาร์เรก้านั้นเป็นโรคที่เรียกว่า arterial sclerosis (โรคเกี่ยวกับหลอดเลือดแดงตีบตัน) ทำให้ทาร์เรก้าสูญเสียความรู้สึกของเล็บและเล็บแข็งมากจนทาร์เรก้าต้องตัดเล็บออกไปในที่สุด
– นอกจากงานประพันธ์เพลงของตัวเองแล้วทาร์เรก้ายังได้ทำการดัดแปลงบทเพลงของนักประพันธ์ที่มีชื่อเสียงจากเครื่องดนตรีอื่นๆเพื่อใช้บรรเลงโดยกีตาร์อีกด้วยเช่นงานของ Chopin, Albeniz, Bach, Beethoven, Schumann, Mendelssohn, Wagner เป็นต้น

tarrega's Posture


+++ผลงานที่สำคัญของ Francisco Tarrega
– Capricho Arabe (Arab Capriccio) ผลงานชิ้นเอกของทาร์เรก้าเป็นการประพันธ์ที่มีลักษณะการImprovisationในสำเนียงแบบอาหรับ บอกเล่าถึงประวัติศาสตร์ของสเปนที่เคยถูกยึดครองโดยพวกแขกมัวร์
– La alborada (Aubade) บทเพลงยามเช้า เป็นบทเพลงขนาดสั้นของสเปนมีทำนองสดใสและมีเทคนิคการใช้เสียงระฆัง(harmonic)
– Gran jota (Great Jota) ผลงานประพันธ์ในแบบ virtuoso style ที่มีสีสันและเทคนิคที่แพรวพราวแสดงถึงความสามารถของผู้บรรเลง Jotaเป็นจังหวะและทำนองแบบทางเหนือของสเปน
– Maria ใช้จังหวะเต้นรำแบบ gavotte ของฝรั่งเศส บทเพลงของทาร์เรก้ามักแต่งโดยใช้ชื่อคนนำมาตั้งเป็นชื่อเพลง
– Tango
– El columpio (The Swing)
– Marieta (Marieta)ใช้จังหวะ Mazurka ชื่อเพลงคือชื่อของลูกสาวทาร์เรก้า
– Adelita เพลงแบบ Mazurka เป็นชื่อของหญิงสาว
– Rosita (Rosita) ใช้จังหวะ Polka ของโปแลน เป็นชื่อของหญิงสาว
– Gran vals (Great Valse)
– anzaodalisca (Odalisque Dance)
– Pavana (Pavane) รูปแบบเพลงเต้นรำในราชสำนักที่มีความสง่างาม
– Paquito ชื่อเพลงเป็นชื่อของลูกชายของทาร์เรก้า
– Pepita
– Danzamora (Moor Dance) ทาร์เรก้าได้ยินเสียงกลองอาหรับที่ตีเป็นจังหวะ ซ้ำๆจึงเกิดแรงบันดาลใจในการแต่งเพลงและนำมาเป็นส่วนประกอบของบทเพลงด้วย
– Valse en re (Valse in D)
– Recuerdos de la Alhambra (Memories from La Alhambra) งานประพันธ์ที่มีชื่อเสียงแต่งขึ้นเมื่อทาร์เรก้าได้เดินทางไปยังปราสาทเก่าแก่ที่ชื่อ Alhambra ใน Granada ตอนใต้ของสเปนเป็นสถาปัตยกรรมแบบอิสลามโบราณ ใช้เทคนิคtremolo ในการบรรเลง
– Mazurca en sol (Mazurka in G)
– Minueto (Minuet)
– Estudiosobreunasonatina de Alard (Study on a Sonatina by Alard)
– Isabel (Isabel)
– La mariposa (The Butterfly)
– Estudiosobre un estudio de Cramer (Study on a Study by Cramer)
– Sue?o-mazurca (Dream-Mazurka) เพลงแบบMazurka เกี่ยวกับการนอนหลับและความฝัน
– Las dos hermanas (The Two Sisters)
– Variacionessobre El Carnaval de Venecia de Paganini (Variations on Paganini’s The Carnival of Venice) งานประพันธ์แบบTheme and variation โดยใช้ทำนองหลักของ Paganini แสดงออกถึงความสนุกสนานของงาน canivalแห่งเมืองเวนิส อิตาลี เป็นเพลงที่มีความโลดโผนใช้เทคนิคที่หวือหวาอีกชิ้นหนึ่ง
– Preludio en re (Prelude in D)
– Preludio en mi (Prelude in E)
– Preludio en la menor (Prelude in A minor)
– Preludio en sol (Prelude in G)
– Preludio en mi (Prelude in E)
– Preludio en re (Prelude in D)
– Preludio en sol (Prelude in G) 602170_451337821617803_2131065744_n  Francisco_tarrega

Comments are closed

[fbcomments]